บริการรับจำนองบ้าน ขายฝากบ้าน ที่ดิน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว
ดอกเบี้ยเริ่มต้น 1% ต่อเดือน ติดขัดเรื่องเงิน มีโฉนดสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้นะครับ
ให้ยอดสูง รับเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ทรัพย์สวยให้ยอดสูงแน่นอนครับ ทั้งจำนองบ้าน ขายฝากบ้าน ได้รับเงินภายใน 1 วัน อนุมัติไวทันใจคุณ ปรึกษาฟรีโทร. 083-708-3232 คุณฉัฐวัสส์
จำนอง จำนองบ้าน จำนองที่ดิน จำนองตึกแถว จำนองทาวน์เฮ้าส์ จำนองคอนโด ขายฝาก ขายฝากบ้าน ขายฝากที่ดิน ขายฝากทาวน์เฮ้าส์ ขายฝากตึกแถว ขายฝากคอนโด ดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน ให้ยอดสูง บริการรวดเร็ว รับเงินภายใน 1 วัน หากโฉนดไม่ติดภาระใด รับเฉพาะในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลเท่านั้น ขายฝากสามารถขยายเวลาได้สูงสุด 10 ปี โทร. 083-708-3232 คุณฉัฐวัสส์
ที่ดิน นับว่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่า มีราคา และมีประโยชน์แก่มวลมนุษย์อย่างยิ่ง เช่น ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ในการเกษตรกรรม ใช้ในการอุตสาหกรรม ใช้เป็นหลักประกัน และอื่น ๆ นอกจากนี้ ที่ดินยังเป็นเครื่องแสดงฐานะความเป็นอยู่ ของแต่ละคนด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงล้วนพยายามใฝ่หา ให้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินเป็นของตนเอง แม้ปัจจุบันที่ดินจะมีราคาแพงสักเพียงใดก็ตาม ก็จะพยายามทำงานให้ได้มาเพื่อจะได้แลกซื้อที่ดิน เป็นของตนเองสักแปลง
แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑)
แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) คือใบแจ้งการครอบครองที่ดินเป็นหลักฐานว่าผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งว่า ตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ (แต่ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ส.ค.๑ อีกแล้ว) ส.ค.๑ ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้เพียงแต่เป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่านั้น ดังนั้นตามกฎหมาย ที่ดินที่มี ส.ค.๑ จึงทำการโอนกันได้เพียงแต่แสดงเจตนาสละการครอบครองและไม่ยึดถือพร้อมส่งมอบให้ผู้รับโอนไปเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นการโอนกันโดยชอบแล้ว ผู้มี ส.ค.๑ มีสิทธินำมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข) ได้ 2 กรณี คือ
กรณีที่ ๑ นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ กรณีนี้ทางราชการจะเป็นผู้ออกให้เป็นท้องที่ไป โดยจะมีการประกาศให้ทราบก่อนล่วงหน้า
กรณีที่ ๒ นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข) เฉพาะราย คือกรณีที่เจ้าของที่ดินมีความประสงค์จะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ให้ไปยืนคำขอ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่เฉพาะการออกโฉนดที่ดินนี้ จะออกได้ในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางแผนที่สำหรับออกโฉนดที่ดินไว้แล้วเท่านั้น
--------------------------------------------------------------------------------
ใบจอง (น.ส. ๒)
ใบจอง คือหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งทางราชการจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคราว ๆ ในแต่ละท้องที่และผู้ต้องการจับจองควรคอยฟังข่าวของทางราชการ
ผู้มีใบจองจะต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือนต้องทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน ๓ ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบจองและจะต้องทำประโยชน์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ ๗๕ ของที่ดินที่จัดให้ ที่ดินที่มีใบจองนี้จะโอนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดทางมรดก เมื่อทำประโยชน์ตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ก็มีสิทธินำใบจองนั้นมาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข) หรือโฉนดที่ดินได้แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินนั้นจะต้องตกอยู่ในบังคับห้ามโอนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
--------------------------------------------------------------------------------
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. และ น.ส.๓ ข)
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. และ น.ส.๓ ข) หมายความว่าหนังสือรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว
น.ส. ๓ ออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินทั่ว ๆ ไป ในพื้นที่ที่ไม่มีระวาง มีลักษณะเป็นแผนที่รูปลอย ไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ดินแน่นอน หรือออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดินของหัวหน้าเขต นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ (นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ออก)
น.ส. ๓ ก. ออกในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ โดยมีการกำหนดตำแหน่งที่ดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ (นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ออกให้)
น.ส. ๓ ข. ออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ และรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดินของหัวหน้าเขต นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแล้ว (เจ้าพนักงานที่ดิน เป็นผู้ออก)
--------------------------------------------------------------------------------
ใบไต่สวน (น.ส. ๕)
ใบไต่สวน คือหนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงให้ทราบว่าได้มีการสอบสวนสิทธิในที่ดินแล้ว สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ แต่สามารถจดทะเบียนโอนให้กันได้
ถ้าที่ดินมีใบไต่สวนและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์แสดงว่าที่ดินนั้นนายอำเภอได้รับรองการทำประโยชน์แล้ว เมื่อจดทะเบียนโอนจะต้องจดทะเบียนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อน แล้วจึงมาจดแจ้งหลังใบไต่สวน แต่ถ้าใบไต่สวนมีแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) หรือไม่มีหลักฐานที่ดินใด ๆ และเป็นที่ดินที่นายอำเภอยังไม่รับรองการทำประโยชน์ จะจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นการจดทะเบียนโอนมรดก
--------------------------------------------------------------------------------
โฉนดที่ดิน
โฉนดที่ดิน คือหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งออกให้ตามประมวลกฎหมายที่ดินปัจจุบัน นอกจากนี้ยังรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" ซึ่งออกให้ตามกฎหมายเก่า แต่ก็ถือว่ามีกรรมสิทธิ์เช่นกัน
ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ถือว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างสมบูรณ์เช่น มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดิน มีสิทธิจำหน่าย มีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้ใดเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
--------------------------------------------------------------------------------
ประโยชน์ของโฉนดที่ดิน
ทำให้ผู้ครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินยึดถือไว้เป็นหลักฐาน
ทำให้เกิดความมั่นคงในหลักกรรมสิทธิ์แก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน
ใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของตนทั้งต่อรัฐและในระหว่างเอกชนด้วยกัน
ทำให้รู้ตำแหน่งแหล่งที่ตั้ง ตลอดจนขอบเขตและจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแต่ละแปลงได้ถูกต้อง
ทำให้สามารถป้องกันการบุกรุกขยายเขตครอบครองเข้าไปในที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ที่สงวนหวงห้าม ที่สาธารณประโยชน์ และที่ดินที่ทางราชการได้กันไว้เป็นเขตป่าไม้
ทำให้สามารถระงับการทะเลาะวิวาท การโต้แย้ง หรือแย่งสิทธิในที่ดินหรือการรุกล้ำแนวเขตที่ดินซึ่งกันและกัน
ทำให้ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตทางเศรษฐกิจ มีความมั่นคงและมีผลเป็นการลดต้นทุนการผลิตด้วย
ทำให้เกิดความรักและความห่วงแหนที่ดินของตน มีแรงจูงใจที่จะปรับปรุงและพัฒนาที่ดินของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ใช้เป็นหลักฐานแสดงทุนทรัพย์หรือหลักประกันในการขอสินเชื่อ และกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการเพิ่มกำลังการผลิตและรายได้เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น
ใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ฯลฯ
การตรวจสอบหลักฐานสำหรับที่ดิน สำหรับที่ดินที่เป็นโฉนดกระทำได้โดยสะดวกรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่ประสงค์จะจำหน่าย จ่าย โอน เนื่องจากการโอนที่ดินที่มีโฉนดที่ดินไม่ต้องประกาศ เว้นแต่มรดก
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เช่น การนำที่ดินไปซื้อขาย ยกให้ แลกเปลี่ยน จำนอง ขายฝาก ฯลฯ จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทีดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข) จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมนั้น จึงจะมีผลตามกฎหมาย เว้นแต่ได้ยกเลิกอำนาจนายอำเภอเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จะต้องไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
--------------------------------------------------------------------------------
คำเตือน
เอกสารสำคัญทั้งหมดนี้แม้จะแสดงถึงการเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าบุคคลอื่นแล้วก็ตาม ถ้าหากท่านปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน กล่าวคือ ถ้าเป็นที่ดินที่โฉนดที่ดิน ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 10 ปี และที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน ๕ ปีติดต่อกัน ที่ดินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของรัฐตามกฎหมาย หรือถ้าหากปล่อยให้บุคคลอื่นครอบครองโดยสงบเปิดเผย โดยมีเจตนาเอาเป็นเจ้าของโดยท่านไม่เข้าขัดขวาง สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินเป็นเวลา ๑๐ ปีติดต่อกันบุคคลที่เข้าครอบครองนั้นก็จะมีสิทธิไปดำเนินคดีทางศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นโดยการครอบครองได้ และที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข) ใช้เวลาแย่งการครอบครองเพียง ๑ ปีเท่านั้น ท่านก็จะเสียสิทธิ ดังนั้นเมื่อที่ดินของท่านมีเอกสารสำคัญดังกล่าวอยู่แล้ว ก็ควรทำประโยชน์และดูแลรักษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ดินก็จะเป็นของท่าน และเป็นมรดกที่มีค่าให้แก่ทายาทของท่านต่อไป
ซื้อบ้านจัดสรรตามบทความนี้ หมายถึง ซื้อบ้านในโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
จากคณะกรรมจัดสรรที่ดินจังหวัด สิ่งที่ผู้ซื้อบ้านในโครงการจัดสรรที่ดินจะได้รับจากการซื้อบ้านจัดสรร
- สาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ถนน ทางเท้า สวน ระบบการระบายน้ำที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด
เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน
- ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ในการบำรุง
ดูแลรักษาสาธารณูปโภคในโครงการจนกว่าจะจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
- สามารถบริหารจัดการการอยู่อาศัยของผู้ซื้อที่ดินในโครงการได้ ในรูปแบบของนิติบุคคลหมู่บ้าน
จัดสรร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดภัย
- มูลค่าของที่ดินที่ซื้อมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน คอนโดมิเนียมหรืออาคารชุดกลายเป็นที่อยู่อาศัยที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ เช่น ทำเลดี ใกล้ที่ทำงานติดรถไฟฟ้า ใกล้ห้างสรรพสินค้าโรงเรียน มีสระว่ายน้ำ ฟิตเนส ห้องชุดมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี สะดวกสบาย ปลอดภัยจากพื้นที่น้ำท่วม
ผู้ซื้อจึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกซื้อห้องชุด หรือ คอนโดมิเนียม
การซื้อห้องชุด หรือ คอนโดมิเนียม ในปัจจุบันจะมี ๒ ลักษณะ คือ ซื้อจากโครงการโดยตรง และซื้อห้องชุด หรือ คอนโดมิเนียม มือสองต่อจากบุคคลอื่น
การซื้อจากโครงการโดยตรง จะมี ๒ กรณี คือ กรณีอาคารชุดที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และกรณีที่
ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
กรณีอาคารชุด หรือ คอนโด ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ผู้ซื้อควรพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
๑. โครงการมีใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด
๒. ผู้ประกอบการเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือไม่ และที่ดินแปลงที่จะก่อสร้างอาคารชุดต้องมีหลักฐาน
เป็นโฉนดที่ดินเท่านั้น นอกจากนี้ ถ้าที่ดินมีภาระผูกพันอย่างอื่น จะไม่สามารถจดทะเบียนอาคารชุดได้ยกเว้นเรื่องการจำนอง
๓. ดูแผนผังแสดงแนวเขตที่ดินที่ตั้งอาคาร ว่ามีทางเข้าออกหรือไม่ และทางเข้าออกนั้น เป็นทางสาธารณะหรือทางส่วนบุคคลถ้าเป็นทางส่วนบุคคล ต้องตรวจสอบว่า เจ้าของที่ดินได้มีการจดทะเบียนภาระจำยอมให้สามารถใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกอาคารไว้เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาตามมาในภายหลัง
๔. เก็บเอกสารการโฆษณาหรือโบรชัวร์ประชาสัมพันธ์ของโครงการไว้ทั้งหมด เผื่อในอนาคตหากโครงการผิดสัญญา ไม่ทำตามที่ได้โฆษณาไว้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องโครงการได้
๕. ความน่าเชื่อถือของโครงการ ผู้ประกอบการมีความมั่นคง และมีประวัติการประกอบกิจการที่ดีหรือไม่ เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หากเป็นนิติบุคคล มีบุคคลใดเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน โดยสามารถตรวจสอบได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
๖. ตรวจสอบดูว่า อาคารดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างและแล้วเสร็จเมื่อใด
๗. ผู้ประกอบการใช้สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดหรือ (อ.ช.๒๒) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดแบบสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายห้องชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ หรือไม่
๘. ควรตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากราคาของห้องชุด หรือ คอนโดมิเนียม ซึ่งผู้เป็นเจ้าของห้องชุดต้องร่วมกัน ออกค่าใช้จ่าย เช่น ค่าบริการที่เป็นส่วนรวม ค่าดูแลรักษาและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เป็นต้น โดยสอบถามได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด
๙. ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด หรือ คอนโดมิเนียม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
กรณีอาคารชุดที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีข้อแนะนำที่ควรรู้ ดังต่อไปนี้
๑. มีการจดทะเบียนอาคารชุดแล้วหรือไม่ บุคคลใดเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุด ขอตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด หากไม่แน่ใจ สามารถตรวจสอบได้จากสำนักงานที่ดินจังหวัดท้องที่
๒. ควรตรวจสอบ เลขที่โฉนด จำนวนเนื้อที่ที่ดินของโครงการ แผนผังแสดงเขตที่ดิน ที่ตั้งอาคารชุด หรือ คอนโดมิเนียม และทางเข้าออกของอาคารชุด ตรวจสอบได้จากสำนักงานที่ดินจังหวัดท้องที่
๓. ความน่าเชื่อถือของโครงการ ผู้ประกอบการมีความมั่นคงและมีประวัติการประกอบกิจการที่ดี หรือไม่ เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหากเป็นนิติบุคคล มีบุคคลใดเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโดยสามารถ ตรวจสอบได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
๔. ตรวจสอบรายการทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง ว่าตรงกับที่ได้โฆษณาไว้หรือไม่ตรวจสอบได้จากอาคารที่ตั้งโครงการและผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุดนั้น ๆ
๕. ควรตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เจ้าของห้องชุดต้องชำระ นอกเหนือจากราคาค่าห้องชุดซึ่งผู้เป็นเจ้าของห้องชุดต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เงินกองทุน เป็นต้น สามารถตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด หรือ คอนโด
๖. ตรวจสอบข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด หรือ คอนโด ดังกล่าวก่อนว่า จะยอมรับเงื่อนไขตามข้อบังคับได้หรือไม่
ทั้งนี้ ผู้ซื้อควรเก็บเอกสารการโฆษณาหรือโบรชัวร์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการซื้อห้องชุดไว้
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี กรณีที่ผู้ประกอบการทำไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ตรงกับที่ได้
โฆษณาไว้ เนื่องจากกฎหมายถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขาย
ส่วนการซื้อห้องชุดมือสองต่อจากบุคคลอื่น มีคำแนะนำก่อนตัดสินใจซื้อ ดังนี้
๑. ตรวจสอบหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือ คอนโดมิเนียม ทำเลที่ตั้งของอาคารชุด และสภาพของห้องชุด ว่าพร้อมอยู่อาศัยหรือไม่
๒. ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดมีอะไรบ้าง มีสภาพอย่างไร เช่น ที่จอดรถ สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกายเป็นต้น
๓. การบริหารจัดการของนิติบุคคลอาคารชุดเป็นอย่างไร ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางเท่าไร เรียกเก็บอย่างไร และการดำเนินการของผู้จัดการ และคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดมีประสิทธิภาพหรือไม่
๔. ในการโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด พนักงานเจ้าหน้าที่จะรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้เมื่อห้องชุด หรือ คอนโดมิเนียม ดังกล่าวปลอดจากหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้ฉบับปัจจุบันของนิติบุคคลอาคารชุดมาแสดงด้วย
เมื่อต้องการใช้เงินสดเพื่อเสริมสภาพคล่อง เจ้าของคอนโดจำนวนไม่น้อยต่างเลือกนำคอนโดมิเนียมมาสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้มากขึ้น ไม่เพียงแต่จะนำไปขายต่อเท่านั้น แต่ใครหลายคนยังอาจเลือกการจำนองคอนโด ไปจนถึงการขายฝากคอนโดเพื่อหาเงินก้อนมาหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในชีวิต
อย่างไรก็ดี ใครหลายคนยังคงสับสนอยู่ไม่น้อยว่า การจำนองคอนโดนั้นจะแตกต่างจากการขายฝากอย่างไร ควรเลือกต่อยอดสภาพคล่องทางการเงินแบบไหนให้ตอบโจทย์มากที่สุด มาหาไขทุกข้อสงสัยได้ในบทความนี้กัน
จำนองคอนโดคืออะไร
ก่อนที่จะไปพิจารณาว่าควรจะเลือกทำธุรกรรมแบบใดให้ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด ลองมาทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการจำนองและการขายฝากให้มากขึ้นกัน ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นรายละเอียดของการจำนองคอนโดก่อน
การจำนองคอนโด คือ การนำคอนโดมาเป็นประกันการชำระหนี้ ผู้จำนองไม่จำเป็นจะต้องส่งมอบคอนโดให้กับผู้รับจำนอง เนื่องจากกรรมสิทธิ์ของคอนโดยังเป็นของผู้จำนองอยู่ แต่หากมีการผิดชำระหนี้ หรือ ขาดส่งหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดในเงื่อนไข ผู้รับจำนองสามารถฟ้องบังคับคดีให้ชำระหนี้และบังคับคดีกับคอนโดต่อไป ซึ่งต่อให้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เมื่อโดนฟ้องบังคับคดีเมื่อไหร่ กรรมสิทธิ์ในคอนโดห้องดังกล่าวก็จะหมดลงทันที
จะเห็นได้ว่า การจำนองคอนโดนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับการรับจำนำ ซึ่งผู้นำคอนโดมาจำนองจะต้องชำระค่างวดอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะครบทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการโดนคำสั่งยึดคอนโดในอนาคต
ขายฝากคอนโดคืออะไร
เมื่อรู้จักการจำนองคอนโดไปแล้ว ลองมาความรู้จักการขายฝากคอนโดกันบ้าง โดยการขายฝากเป็นการทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้รับซื้อฝาก จากนั้นเจ้าของห้อง หรือ ผู้ขายฝากจะต้องส่งเงินตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา
เมื่อครบตามที่กำหนดเมื่อไหร่ ผู้ขายฝากก็จะได้รับการโอนกรรมสิทธิ์คืน ต่อเมื่อจำเงินที่กู้ไปชำระให้กับทางผู้รับซ์้อฝาก ครบตามจำนวนที่กู้ไป แต่ถ้ายังไม่มีเงินต้นมาชำระคืนก็สามารถมาขยายระยะเวลาไถ่ถอนจากขายฝาก รวมกันสูงสุดไม่เกิน 10 ปี แต่ถ้าทำสัญญาขายฝากไว้ 1 ปี แล้วทางผู้ขายฝากไม่ชำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้กับทางผู้รับซื้อฝาก ก่อนกำหนด 1 ปี หรือไม่มาขยายเวลาไถ่ถอนออกไปอีก ผู้ซื้อฝากก็จะได้กรรมสิทธิ์ของคอนโดไปไว้ในครอบครองแบบสมบูรณ์ ซึ่งต่อให้เจ้าของห้องไม่ทำการส่งค่างวดเลย ผู้รับซื้อก็ไม่ต้องใช้สิทธิ์บังคับตามสัญญาขายฝาก เนื่องจากได้รับกรรมสิทธิ์คอนโดมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เลือกจำนองคอนโดหรือขายฝากดี?
การจำนองคอนโดจะแตกต่างจากการขายฝากในเรื่องของกรรมสิทธิ์ของคอนโด โดยการจำนองยังถือเป็นการรักษากรรมสิทธิ์ในคอนโดเอาไว้ตราบเท่าที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด แต่การขายฝากจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ซื้อ ซึ่งจะมีผลบังคับทางกฎหมายทันที โดยหากชำระหนี้สินครบถ้วนเมื่อไหร่ก็จะได้กรรมสิทธิ์ของคอนโดคืน
การจำนองคอนโดเป็นธุรกรรมที่สามารถทำได้กับสถาบันทางการเงิน ในขณะที่การขายฝากมักเป็นการทำสัญญาระหว่างบุคคล ถือเป็นการกู้เงินแบบหนึ่งที่ใช้คอนโดเป็นตัวค้ำประกัน ดังนั้น แม้จะมีโอกาสได้เงินไวและเต็มจำนวนมากกว่า แต่หากไม่ทำสัญญาให้ละเอียดและครอบคลุมก็อาจทำให้เกิดข้อพิพาทในอนาคตได้
ดังนั้น เจ้าของห้องคอนโดจะต้องพิจารณาถึงสภาพคล่องทางการเงิน ความสามารถในการชำระหนี้ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายและภาระทางการเงินอื่น ๆ ให้ดีด้วย
เท่านี้ เจ้าของห้องคอนโดก็พอเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการจำนองคอนโดและการขายฝากแล้ว อย่าลืมนำรายละเอียดที่นำมาฝากนี้ไปพิจารณาและเลือกทำธุรกรรมที่เหมาะสมกับเงื่อนไขในชีวิตตนเองต่อไป